บทที่ 10 จริยธรรมและความปลอดภัย
เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบต่อสังคมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะประเด็นจริยธรรมที่เกี่ยวกับระบบสารสนเทศที่จาเป็นต้องพิจารณารวมทั้งเรื่องความปลอดภัยของระบบสารสนเทศการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศหากไม่มีกรอบจริยธรรมกากับไว้แล้ว สังคมย่อมจะเกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาไม่สิ้นสุด รวมทั้งปัญหาอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ด้วย ดังนั้นหน่วยงานที่ใช้ระบบสารสนเทศจึงจาเป็นต้องสร้างระบบความปลอดภัยเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว
ประเด็นเกี่ยวกับจริยธรรม
คาจากัดความของจริยธรรมมีอยู่มากมาย เช่น “หลักของศีลธรรมในแต่ละวิชาชีพเฉพาะ” “มาตรฐานของการประพฤติปฏิบัติในวิชาชีพที่ได้รับ” “ข้อตกลงกันในหมู่ประชาชนในการกระทาสิ่งที่ถูกและหลีกเลี่ยงการกระทาสิ่งที่ผิด”
หรืออาจสรุปได้ว่า จริยธรรม (Ethics) หมายถึง หลักของความถูกและความผิดที่บุคคลใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ (Laudon & Laudon, 1999:105)
จริยธรรม (Ethics) หมายถึง "หลักศีลธรรมจรรยาที่กาหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ หรือควบคุมการใช้ระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ"
จริยธรรม (Ethics) คือ หลักของความถูกและผิดที่บุคคลใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ
โดยในทางปฏิบัติแล้ว การระบุว่าการกระทาสิ่งใดผิดจริยธรรมนั้น อาจกล่าวได้ไม่ชัดเจนมากนัก ทั้งนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของสังคมในแต่ละประเทศด้วย อย่างเช่น กรณีที่เจ้าของบริษัทใช้กล้องในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการทางานของพนักงาน เป็นต้น
ตัวอย่างของ การกระทาผิดจริยธรรม
1.การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
2.การเข้าถึงข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
3.การใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมยข้อมูลหรือสารสนเทศของผู้อื่น
4.การเผยแพร่ข้อมูลผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวโยไม่ได้รับอนุญาต
5.การสร้างโปแกรมรบรวนการทางานของคอมพิวเตอร์ (Virus Computer) ที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือก่อความราคาญแก่ผู้อื่น
กรอบความคิดเรื่องจริยธรรม
หลักปรัชญาเกี่ยวกับจริยธรรม มีดังนี้ (Laudon & Laudon, 1999)
R.O. Mason และคณะ ได้จาแนกประเด็นเกี่ยวกับจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็น 4 ประเภทคือ ความเป็นส่วนตัว (Privacy) ความถูกต้องแม่นยา (Accuracy) ความเป็นเจ้าของ (Property) และความสามารถในการเข้าถึงได้ (Accessibility) (O’Brien, 1999: 675; Turban, et al., 2001: 512)
1) ประเด็นความเป็นส่วนตัว (Privacy) คือ การเก็บรวบรวม การเก็บรักษา และการเผยแพร่ ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับปัจเจกบุคคล
2) ประเด็นความถูกต้องแม่นยา (Accuracy) ได้แก่ ความถูกต้องแม่นยาของการเก็บรวบรวมและวิธีการปฏิบัติกับข้อมูลสารสนเทศ
3) ประเด็นของความเป็นเจ้าของ (Property) คือ กรรมสิทธิ์และมูลค่าของข้อมูลสารสนเทศ (ทรัพย์สินทางปัญญา)
4) ประเด็นของความเข้าถึงได้ (Accessibility) คือ สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศได้และการจ่ายค่าธรรมเนียมในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศ
การคุ้มครองความเป็นส่วนตัว (Privacy)
• ความเป็นส่วนตัวของบุคคลต้องได้ดุลกับความต้องการของสังคม
• สิทธิของสาธารณชนอยู่เหนือสิทธิความเป็นส่วนตัวของปัจเจกชน
กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
ประเทศไทยมีการร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งสิ้น 6 ฉบับ คือ
1) กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
2) กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
3) กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
4) กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
5) กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนตัว
6) กฎหมายลาดับรอง รัฐธรรมนูญ มาตรา 78 หรือกฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ
การคุ้มครองทางทรัพย์สินทางปัญญา
ทรัพย์สินทางปัญญา เป็นทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ ที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยปัจเจกชน หรือนิติบุคคล ซึ่งอยู่ภายใต้ความคุ้มครองของกฎหมายลิขสิทธิ์ กฎหมายความลับทางการค้า และกฎหมายสิทธิบัตร
ความลับทางการค้า เป็นข้อมูลต่างๆ ที่เกิดจากความคิดของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเกี่ยวกับสูตร กรรมวิธีการผลิต และรูปแบบสินค้า เป็นต้น
ลิขสิทธิ์ (Copyright) ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 หมายถึง สิทธิ์แต่ผู้เดียวที่จะกระทาการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทาขึ้น ซึ่งเป็นสิทธิ์ในการป้องกันการคัดลอกหรือทาซ้าในงานเขียน งานศิลป์ หรืองานด้านศิลปะอื่น ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวลิขสิทธิ์ทั่วไปมีอายุห้าสิบปีนับแต่งานได้สร้างสรรค์ขึ้น หรือนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรกในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีอายุเพียง 28 ปี
สิทธิ์บัตร (Patent) ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 หมายถึง หนังสือสาคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยสิทธิบัตรการประดิษฐ์มีอายุยี่สิบปีนับแต่วันขอรับสิทธิบัตร ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะคุ้มครองเพียง 17 ปี
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์
ปัจจุบัน อาชญากรรมคอมพิวเตอร์มีความก้าวหน้าและพัฒนาไปมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบอินเตอร์เน็ต ทาให้อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ระบาดไปทั่วโลก ซึ่งบางครั้งทาให้เกิดความเสียหายด้านทรัพย์สินเงินทองจานวนมหาศาลสาหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ อาจจะเป็นไปได้ทั้ง
เครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นเครื่องประกอบอาชญากรรม คือ ใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และทาลายระบบคอมพิวเตอร์อื่น
ความเคลื่อนไหวของรัฐและสังคมต่อผลกระทบทางสังคมของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
รัฐและสังคมตระหนักต่ออิทธิพลของคอมพิวเตอร์ จึงมีความพยายามที่จะปรับปรุงแก้ไขหรือวางกฎหมายที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมในยุคปัจจุบัน เช่น การปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิส่วนบุคคล กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์เป็นการกระทาที่ผิดกฎหมายโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือ เช่น การโจรกรรมข้อมูลหรือความลับของบริษัท การบิดเบือนข้อมูล การฉ้อโกง การฟอกเงิน การถอดรหัสโปรแกรมคอมพิวเตอร์
แฮกเกอร์ (Hacker) คือบุคคลที่ใช้ความรู้ความสามารถในทางที่ไม่ถูกต้อง/ผิดกฎหมาย ได้แก่ การลักลอบเข้าไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นโดยผ่านการสื่อสารเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต
แคร็กเกอร์ (Cracker) คือแฮกเกอร์ที่ลักลอบเข้าไปยังคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นเพื่อวัตถุประสงค์ในเชิงธุรกิจ Hacktivist หรือ Cyber Terrorist ได้แก่ แฮกเกอร์ที่ใช้อินเทอร์เน็ตในการส่งข้อความเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง
การใช้คอมพิวเตอร์ในฐานะเป็นเครื่องมือในการก่ออาชญากรรม
- การขโมยหมายเลขบัตรเครดิต เป็นการขโมยหมายเลขบัตรทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งยากต่อการรู้จนกว่าจะได้รับใบแจ้งยอดการใช้เงินในบัตรนั้น
- การแอบอ้างตัว เป็นการแอบอ้างตัวของผู้กระทาต่อบุคคลที่ตนเป็นอีกคนหนึ่ง การกระทาในลักษณะนี้จะใช้ลักษณะเฉพาะตัว ได้แก่ หมายเลยบัตรประชาชน หมายเลขบัตรเครดิต หนังสือเดินทาง
- การฉ้อโกง หรือ การสแกมทางคอมพิวเตอร์ เป็นการกระทาโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการหลอกลวงผู้อื่น เช่น
(1) การส่งข้อความหรือโฆษณาบนเว็บไซต์ว่าท่านสามารถเดินทางเข้าพัก/ท่องเที่ยวแบบหรูหราในราคาถูก แต่เมื่อไปใช้บริการจริง กลับไม่เป็นอย่างที่บอกไว้
(2) การฉ้อโกงด้านธุรกรรมการเงินหรือการใช้บัตรเครดิต เรียกว่า ฟิชชิ่ง (Phishing) เป็นการสร้างจดหมายข้อความเลียนแบบ หรือรูปแบบการแจ้งข่าวสารของบริษัทที่มีชื่อเสียง เช่น eBay เพื่อหลอกลวงเอาข้อมูลบางอย่างจากผู้ใช้ โดยได้ผู้ใช้ส่งข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลการเงินไปยังกลุ่มผู้ที่ไม่หวังดี
เครื่องคอมพิวเตอร์ในฐานะเป้าหมายของอาชญากรรม
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Crime หรือ Cyber Crime) อาชญากรคอมพิวเตอร์จะก่ออาชญากรรมหลายรูปแบบ ซึ่งปัจจุบันทั่วโลกจัดออกเป็น 7 ประเภท
1. ลักลอบขโมย หรือดักดูข้อมูล แล้วนาข้อมูลนั้นมาใช้เป็นประโยชน์ต่อตน
2. ละเมิดสิทธิ แก้ไขซอฟต์แวร์โดยมิชอบ
3. แพร่ภาพ เสียง ลามก อนาจาร และข้อมูลที่ไม่เหมาะสม
4. ฟอกเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
5. ก่อกวน หรือทาลายระบบสาธารณูปโภค
6. หลอกลวงให้ร่วมค้าขาย หรือลงทุนปลอม
7. โอนเงินจากบัญชีผู้อื่นเข้าบัญชีของตน
อาชญากรคอมพิวเตอร์
อาชญากรคอมพิวเตอร์ คือ ผู้กระทาผิดกฎหมายโดยใช้คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนสาคัญ จาแนกได้ดังนี้
1. Novices คือ พวกมือสมัครเล่น
2. Queer คือ พวกจิตไม่ปกติ
3. Dreamer คือ พวกบ้าลัทธิ
4. Hacker คือ พวกเจาะระบบคอมพิวเตอร์
5. Cracker คือ พวกชอบก่อความเสียหาย
6. Organized Criminal คือ พวกกลุ่มอาชญากรที่ร่วมมือกัน
7. Career Criminal คือ พวกอาชญากรมืออาชีพ
ไวรัส (Virus)
เป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อดัดแปลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่นๆ โปรแกรมที่ติดไวรัสจะเพิ่มจานวนตัวเองอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจแฝงอยู่ในไฟล์หรือสื่อเก็บข้อมูล เช่น แผ่นดิสก์ ฮาร์ดดิสก์ ในการสร้างความเสียหายจะแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ ไวรัสที่แสดงข้อความรบกวนหรือทาให้คอมพิวเตอร์ทางานช้าลง แต่จะไม่ทาลายข้อมูล ส่วนอีกประเภทหนึ่งจะทาลายการทางานของระบบคอมพิวเตอร์ ได้แก่ การลบไฟล์ การปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือการรบกวนการทางานของโปรแกรมอื่นๆ
โดยทั่วไป ไวรัสถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. ไฟล์ไวรัส File Viruses
คือไวรัสที่เก็บตัวเองอยู่ในแฟ้มข้อมูล ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นแฟ้มข้อมูลแบบ Executite ได้แก่ไฟล์ประเภท .EXE .COM .DLL เป็นต้น การทางานของไวรัสคือจะไปติดบริเวณ ท้ายแฟ้มข้อมูล แต่จะมีการเขียนคาสั่งให้ไปทางานที่ตัวไวรัสก่อน เสมอ เมื่อมีการ เปิดใช้แฟ้มข้อมูล ที่ติดไวรัส คอมพิวเตอร์ก็จะถูกสั่งให้ไปทางานบริเวณ ส่วนที่เป็นไวรัสก่อน แล้วไวรัสก็จะฝังตัวเองอยู่ในหน่วยความจาเพื่อ ติดไปยังแฟ้มอื่นๆ ต่อไป
2. บูตเซกเตอร์ไวรัส Boot Sector Viruses หรือ Boot Infector Viruses
คือไวรัสที่เก็บตัวเองอยู่ในบูตเซกเตอร์ของดิสก์ การทางานก็คือ เมื่อเราเปิดเครื่อง เครื่อง จะเข้าไปอ่านบูตเซกเตอร์ โดยในบูตเซกเตอร์จะมีโปรแกรมเล็ก ๆ ไว้ใช้ในการเรียกระบบ ปฎิบัติการขึ้นมาทางานอีกทีหนึ่ง ถ้าหากว่าบูตเซกเตอร์ ได้ติดไวรัส โปรแกรมที่เป็นไวรัสจะเข้าไปแทนที่โปรแกรมดังกล่าว ทุกๆ ครั้งที่บูตเครื่องขึ้นมาโดย โปรแกรมไวรัสก็จะโหลดเข้าไปในเครื่อง และจะเข้าไปฝังตัวอยู่ในหน่วยความจาเพื่อ
เตรียมพร้อมที่ จะทางานตามที่ได้ถูกโปรแกรมมา แล้วตัวไวรัสจึงค่อยไป เรียกดอสให้ขึ้นมาทางานต่อไป ทาให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไวรัสประเภทนี้ มักจะติดกับแฟ้มข้อมูลด้วยเสมอ
3. ไวรัสตามลักษณะแฟ้มที่ติดไวรัส
- แมโครไวรัส Macro Viruses เป็นไวรัสรูปแบบหนึ่งที่ พบเห็นได้มากที่สุด และระบาดมาที่สุดในปัจจุบัน (เมษายน 2545) ซึ่งการทางานจะอาศัยความสามารถ ในการใช้งานของ ภาษาวิชวลเบสิก ที่มีใน Microsoft Word ไวรัสชนิดนี้จะติดเฉพาะไฟล์เอกสารของ Word ซึ่งจะฝังตัวในแฟ้ม นามสกุล .doc .dot การทางานของไวรัส จะทาการคัดลอกตัวเองไปยังไฟล์อื่นๆ ก่อให้เกิดความราคาญในการทางาน เช่นอาจจะทาให้เครื่องช้าลง ทาให้พิมพ์ของทางเครื่องพิมพ์ไม่ได้ หรือทาให้เครื่องหยุดการทางานโดยไม่มีสาเหตุ
- โปรแกรมไวรัส Program Viruses หรือ File Intector Viruses เป็นไวรัสอีกประเภทหนึ่ง ที่จะติดกับไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น COM หรือ EXE และบางไวรัสสามารถเข้าไปติดอยู่ใน โปรแกรมที่มีนามสกุลเป็น sys และโปรแกรมประเภท Overlay Programs ได้ด้วย โปรแกรมโอเวอร์เลย์ ปกติจะเป็นไฟล์ที่มีนามสกุลที่ขึ้นต้นด้วย OV วิธีการที่ไวรัสใช้ เพื่อที่จะเข้าไปติดโปรแกรมมีอยู่สองวิธี คือ การแทรกตัวเองเข้าไปอยู่ในโปรแกรม ผลก็คือ หลังจากที่โปรแกรมนั้นติดไวรัสไปแล้ว ขนาดของโปรแกรมจะใหญ่ขึ้น หรืออาจมีการสาเนาตัวเอง เข้าไปทับส่วนของโปรแกรมที่มีอยู่เดิม ดังนั้นขนาดของโปรแกรมจะไม่เปลี่ยน และยากที่จะซ่อมให้กลับเป็นดังเดิม
ลักษณะการทางานของไวรัส โดยทั่วไป คือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่ติดไวรัส ส่วนของไวรัสจะทางานก่อน และจะถือโอกาสนี้ ฝังตัวเข้าไปอยู่ในหน่วยความจาทันที แล้วจึงค่อยให้โปรแกรมนั้นทางานตามปกติต่อไป เมื่อไวรัสเข้าไปฝังตัวอยู่ในหน่วยความจาแล้ว หลัง จากนี้ไปถ้ามีการเรียกโปรแกรมอื่น ๆ ขึ้นมาทางานต่อ ตัวไวรัสก็จะสาเนาตัวเองเข้าไป ในโปรแกรมเหล่านี้ทันที เป็นการแพร่ระบาดต่อไป
หนอน (Worm)
หนอน (Worm) เป็นรูปแบบหนึ่งของไวรัส มีความสามารถในการทาลายระบบในเครื่องคอมพิวเตอร์สูงที่สุดในบรรดาไวรัสทั้งหมด สามารถกระจายตัวได้รวดเร็ว ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งสาเหตุที่เรียกว่าหนอนนั้น คงจะเป็นลักษณะของการกระจายและทาลาย ที่คล้ายกับหนอนกินผลไม้ ที่สามารถกระจายตัวได้มากมาย รวดเร็ว และเมื่อยิ่งเพิ่มจานวนมากขึ้น ระดับการทาลายล้างยิ่งสูงขึ้น
ม้าโทรจัน (Trojan Horse)
ม้าโทรจัน (Trojan) คือโปรแกรมจาพวกหนึ่งที่ถูกออกแ บบขึ้นมาเพื่อแอบแฝง กระทาการบางอย่าง ในเครื่องของเรา จากผู้ที่ไม่หวังดี ชื่อเรียกของโปรแกรมจาพวกนี้ มาจากตานานของม้าไม้แห่งเมืองทรอยนั่นเอง ซึ่งการติดนั้น ไม่เหมือนกับไวรัส และหนอน ที่จะกระจายตัวได้ด้วยตัวมันเอง แต่โทรจัน (คอมพิวเตอร์)จะ ถูกแนบมากับ อีการ์ด อีเมล์ หรือโปรแกรมที่มีให้ดาวน์โหลดตามอินเทอร์เน็ตในเว็บไซต์ใต้ดิน และสุดท้าย
ที่มันต่างกับไวรัสและเวิร์ม คือ มันจะสามารถเข้ามาในเครื่องของเรา โดยที่เราเป็นผู้รับมันมาโดยไม่รู้ตัว และเมื่อมีการเรียกใช้ไฟล์ โปรแกรมก็จะลบไฟล์ที่อยู่ในฮาร์ดดิสก์ทันที
วิธีการป้องกันการเข้าถึงข้อมูลและคอมพิวเตอร์
1. การใช้ username หรือ user ID และรหัสผ่าน (password) ผู้ใช้ควรเปลี่ยนแปลงด้วยตนเองภายหลังและควรหลีกเลี่ยงการกาหนดรหัสที่เป็นวัยเกิด หรือ รหัสอื่นๆ ที่แฮกเกอร์สามารถเดาได้
2. การใช้วัตถุใดๆ เพื่อการเข้าสู่ระบบ ได้แก่ บัตร หรือ กุญแจ ซึ่ง รหัสผ่านไม่ควรชี้ปีเกิดหรือจดลงในบัตร
3. การใช้อุปกรณ์ทางชีวภาพ (Biometric device) เป็นการใช้อุปกรณ์ที่ตรวจสอบลักษณะส่วนบุคคลเพื่ออนุญาตใช้โปรแกรม ระบบ หรือการเข้าใช้ห้องคอมพิวเตอร์
4. ระบบเรียกกลับ (Callback system) เป็นระบบที่ผู้ใช้ระบุชื่อและรหัสผ่านเพื่อขอเข้าใช้ระบบปลายทาง หากข้อมูลถูกต้อง คอมพิวเตอร์ก็จะเรียกกลับให้เข้าใช้งานเอง อย่างไรก็ตามการใช้งานลักษณะนี้จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นถ้าผู้ขอใช้ระบบ ใช้คอมพิวเตอร์จากตาแหน่งเดิม คือ จากบ้าน หรือที่ทางาน (หมายเลขโทรศัพท์เดิม)
ข้อควรระวังและแนวทางการป้องกันการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์
- ข้อควรระวังก่อนเข้าไปในโลกโซเบอร์ Haag ได้เสนอกฎไว้ 2 ข้อคือ
1) ถ้าคอมพิวเตอร์มีโอกาสถูกขโมย ให้ป้องกันโดยการล็อคมัน
2) ถ้าไฟล์มีโอกาสที่จะถูกทาลาย ให้ป้องกันด้วยการสารอง (Backup)
- ข้อควรระวังในการเข้าไปยังโลกไซเบอร์
1) บัตรเครดิตและการแอบอ้าง
- ให้หมายเลยบัตรเครดิตเฉพาะบริษัทที่ท่านไว้วางได้เท่านั้น
- ใช้เฉพาะเว็บไซต์ที่มีระบบรักษาความปลอดภัย เช่น https://
- ใช้รหัสผ่านอย่างน้อย 10 ตัวอักขระ (ควรผสมกันระหว่างตัวอักษรและตัวเลข)
- ใช้รหัสผ่านที่แตกต่างกันในแต่ละระบบหรือเว็บไซต์
2) การป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล พิจารณาอย่างรอบคอบก่อนการให้ข้อมูลส่วนตัว
3) การป้องกันการติดตามการท่องเว็บไซต์ ใช้โปรแกรม เช่น Surf Secret เพื่อป้องกันการติดตามการท่องเว็บไซต์ โปรแกรมจะทางานคล้ายกับโปรแกรมป้องกันไวรัส และลบข่าวสาร/โฆษณาที่เกิดขึ้นเมื่อผู้ใช้ทางเว็บไซต์
4) การหลีกเลี่ยงแปมเมล
5) การป้องกันระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย ใช้ไฟร์วอลล์ (Firewall) ที่เป็นอาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์เพื่อทาหน้าที่เป็นยามประตูตรวจสอบการเข้าระบบ
6) การป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์
- ปฏิบัติตามเคล็ดลับง่ายๆ 5 ข้อ ด้วยตัวอักษรย่อ EMAIL ดังนี้
E ย่อมาจาก Exempt from unknown คือ ไม่เปิดอีเมลจากคนแปลกหน้า
M ย่อมาจาก Mind the subject คือ หมั่นสังเกตหัวข้อของจดหมายก่อนที่จะเปิดอ่าน
A ย่อมาจากประโยค Antivirus must be installed หมายความว่า ควรติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส เช่น Norton Antivirus
I ย่อมาจาก Interest on virus news หมายความว่า ควรให้ความสนใจกับข่าวเกี่ยวกับไวรัส ติดตามข่าวสารจากสื่อต่างๆ
L ย่อมาจาก Learn to be cautious หมายความว่า ให้ระวังให้มาก อย่าเปิดอีเมลแบบไม่ยั้งคิด
- ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการป้องกันการก่อกวนและทาลายข้อมูลได้ที่ศูนย์ประสานงานการักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ประเทศไทย (http://thaicert.nectec.or.th/)
นอกจากข้อควรระวังแล้วยังมีข้อแนะนาบางประการเพื่อสร้างสังคมและรักษาสิ่งแวดล้อมดังนี้
1) การป้องกันเด็กเข้าไปดูเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม
2) การวางแผนเพื่อจัดการกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่ใช้แล้ว
3) การใช้พลังงาน
Reference
http://bcom103.myreadyweb.com/news/category-100525.html
https://sites.google.com/site/it504249201/criythrrm-laea-khwam-plxdphay-khxng-rabb-sarsnthes
http://www.trueplookpanya.com/true/blog_diary_detail.php?diary_id=4721
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น