บทที่9 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce)

บทที่ 9 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce)
ความหมายของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) หรือ อี-คอมเมิร์ช (E-Commerce) หมายถึง การทาธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกๆ ช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์, โทรทัศน์, วิทยุ, หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพื่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทของความสาคัญขององค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทาเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนาสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้าเป็นต้น ดังนั้นจึงลดข้อจากัดของระยะทางและเวลา ในการทาธุรกรรมลงได้
เทคโนโลยีสารสนเทศที่รุดหน้า ทั้งระบบโทรคมนาคม ระบบคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต ทาให้การสื่อสารกันเป็นไปได้โดยง่าย และสามารถเข้าถึงผู้ใช้บริการได้หลายระดับ อีกทั้งยังสามารถโต้ตอบกันได้ทันที ทาให้สามารถเสนอธุรกรรมที่หลากหลาย เช่น การชื้อขาย การบริการหลังการขาย การโอนเงินชาระค่าบริการสินค้า การขนส่ง เป็นต้น โดยมีกฎหมายธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และกฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เข้ามาคุ้มครองเรื่องความปลอดภัย
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) หรือบางครั้งเรียกว่า “การค้าอิเล็กทรอนิกส์” มีผู้ให้ความหมายแตกต่างกันออกไป เช่น
กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การดาเนินการธุรกรรมทุกรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านคอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคมหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์
ศูนย์พัฒนาอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce Resource Center : ECRC) ให้นิยามพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ว่า เป็นการทา “การค้า” ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยคาว่าสื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้นจะครอบคลุมตั้งแต่ระดับเทคโนโลยีพื้นฐาน เช่น โทรศัพท์ โทรสาร โทรทัศน์ ไปจนถึงเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อน
องค์การค้าโลก (WTO)1998 ให้คาจากัดความไว้ว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์
ผศ.ดร. ศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล ได้นิยามว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การทาธุรกรรมทุกรูปแบบ (การซื้อขายสินค้า บริการ การชาระเงิน การโฆษณา และการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์ โทรสาร โทรทัศน์ และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ความสาคัญของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
เนื่องมาจากอัตราการเติบโตของการใช้อินเทอร์เน็ตและการเพิ่มขึ้นของเว็บไซต์ทางธุรกิจที่มีอย่างต่อเนื่องทาให้การประกอบธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจบนอินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางการตลาดขนาดใหญ่ของโลกไร้พรมแดนที่สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว ไร้ขีดจากัดในเรื่องของเวลาและสถานที่ การ
แข่งขันทางการค้าเสรีและระหว่างประเทศที่ต้องแข่งขันและชิงความได้เปรียบกันที่ “ความเร็ว” ทั้งการนาเสนอสินค้าและการใช้บริการ การใช้ต้นทุนที่ต่า รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้า ส่งผลให้การทาการค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์มีความสาคัญอย่างยิ่งในสังคมและเศรษฐกิจฐานความรู้ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการประกอบธุรกิจในปัจจุบัน และได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นลาดับ
สรุปความสาคัญของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ดังนี้
1. การซื้อสินค้าได้ทุกที่ทุกเวลา (Ubiquity)
2. การเข้าถึงผู้บริโภคได้ทั้งโลก (Global Reach)
3. ความเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งโลก (Universal standards)
4. การให้ข้อมูลรายละเอียดของตัวสินค้าหรือบริการอย่างมากพอ (Richness)
5. การสนับสนุนต่อการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างคู่ค้า (Interactivity)
6. ความหนาแน่นและคุณภาพของข้อมูล (Information Density)
7. การสนองตอบตามความชอบส่วนบุคคล/การปรับแต่งการใช้งานให้เหมาะสมกับผู้ใช้บริการ (Personalization/Customization)
8. เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนเครือข่ายสังคม (Social Technology)
กรอบแนวคิดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วย 4 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
 แอพพลิเคชั่นของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
 ปัจจัยทางการบริหาร
 โครงสร้างพื้นฐาน
 ประเภทสินค้าของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
โมเดลของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ธุรกิจ e-Commerce แบ่งตามลักษณะความสัมพันธ์กับคู่ค้าแบ่งเป็น 6 ประเภท ดังนี้
1) B2B (Business to Business) คือการทาการค้าระหว่างผู้ทาการค้าด้วยกัน เช่น ร้านค้าที่
ต้องสั่งซื้อสินค้ากับโรงงาน เป็นต้น
2) B2C (Business to Customer) คือ การทาการค้ากับผู้บริโภคโดยตรง ซึ่งการค้าประเภทนี้
คือ ช่องทางหนึ่งที่สาคัญ เพราะผู้ทาการค้ารายย่อยสามารถเข้าแทรกตลาดและเข้าถึงผู้บริโภคได้
โดยตรง ยกตัวอย่าง เช่น การเปิดเว็บไซต์ขายสินค้า เพื่อให้ผู้บริโภคซื้อสินค้ากับผู้ทาการค้าได้เลย
3) B2G (Business to Government) คือ การทาการค้า การติดต่อประสานงานทางการค้า
ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้ทาการค้ากับรัฐบาล ยกตัวอย่างเช่น การให้บริการยื่นเอกสาร
ราชการผ่านทาง เว็บไซต์
4) C2C (Customer to Customer) คือ การทาการค้าระหว่างผู้บริโภคด้วยกันเอง
ยกตัวอย่างเช่น การซื้อขายของมือสองผ่านทางเว็บไซต์ โดยผู้บริโภคเป็นผู้ติดต่อซื้อขายกันเอง
5) C2G (Customer to Government) คือ การติดต่อประสารงานของผู้บริโภคในเรื่องต่างๆ
กับหน่วยงานของรัฐ โดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของ e-Government ยกตัวอย่าง
เช่น การติดต่อยื่นแบบชาระภาษีผ่านเว็บไซต์ เป็นต้น
6) G2G (Government to Government) คือ การติดต่อด้านข้อมูลระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล
หรือหน่วยงานภายใน ซึ่งเป็นการค้าที่เกิดขึ้นระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกัน เช่นการค้าระหว่างการไฟฟ้านครหลวงกับกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ในประเทศเดียวกัน หรือการค้าระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล เช่น รัฐบาลไทยส่งข้าวไปขายให้รัฐบาลของประเทศอิหร่าน หรือรัฐบาลอิหร่านขายน้ามันดิบให้รัฐบาลไทย เป็นต้น
M-Commerce
M-Commerce คือ การดาเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรม หรือการเงินโดยผ่าน
เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือการค้าขายตามระบบแนวความคิดของระบบการค้าอิเล็กทรอนิกส์
E-Commerce ที่ ใช้อุปกรณ์พกพาไร้สายเป็นเครื่องมือในการสั่งซื้อ และขายสินค้าต่างๆ ทั้งการ
สั่งซื้อสินค้าที่เป็นรูปธรรม หรือนามธรรม รวมทั้งการรับ-ส่งอีเมล
สิ่งที่น่าสนใจ และเป็นจุดที่น่าศึกษา คือ โทรศัพท์เคลื่อนสามารถพกพาไปได้ทุกที่ไม่จากัด ทา
ให้ตลาดการค้าออนไลน์ หรือการทาธุรกรรมเชิงพาณิชย์ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นตลาดที่น่ากลัว
ที่สุด เพราะสะดวกสบาย ไม่มีข้อจากัดในการจับจ่าย และคนในสังคมไทยมีความคุ้นเคยกับการ ใช้
โทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่แล้วโดย M-Commerce มีผลกระทบโดยตรงต่อการขยายตัวของธุรกิจพาณิชย์อิเล็คทรอนิคส์โดย M-Commerce จะช่วยเร่งอัตราการเติบโตให้กับการดาเนินธุรกรรมผ่านเครือข่าย
อิเล็คทรอนิคส์ได้เร็วกว่าการใช้เทคโนโลยี E-Commerce ขอบเขตของ M-Commerce ครอบคลุมทั้ง การดาเนินธุรกรรมระหว่างผู้ดาเนินธุรกิจ กับผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Business to Customerหรือ B2C) และระหว่างผู้ดาเนินธุรกิจด้วยกันเอง (Business to Business หรือ B2B)
จุดเด่นของ M-Commerce
1. ความแพร่หลายของเครื่องลูกข่าย หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่หาซื้อได้ง่ายและในปัจจุบัน มีความแพร่หลายมากขึ้น ด้วยผลจากการแข่งขันระหว่างผู้ให้บริการ เครือข่าย รวมถึงแรงผลักดันขอโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพร้อมใช้ (เติมเงินได้) ทาให้การซื้อหา โทรศัพท์เคลื่อนที่ทาได้ง่าย
2. ความสามารถในการติดตามตัวได้เสมอ ตราบใดที่ผู้ใช้บริการ เปิดเครื่องและอยู่ในบริเวณที่มีสัญญาณการติดต่อสื่อสารจากเครือข่ายไปสู่เครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่จะทาได้เสมอ ทั้งนี้ผู้ใช้บริการมีสิทธิ์ที่จะระงับการติดตามตัวได้ในเวลาที่ต้องการ เช่น ระงับการโทรเข้า ให้โทรศัพท์เคลื่อนที่ทาได้เฉพาะการโทรออกเท่านั้น
3. กระบวนการรักษาความปลอดภัยโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบันมี SIM การ์ด ซึ่งใช้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่สาคัญของผู้ใช้บริการ พร้อมกับการเข้ารหัสข้อมูลไว้ หากต้องมีการรับ-ส่ง ข้อมูลกับระบบเครือข่าย ตัวเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่จะมีความสามารถในการเข้ารหัสข้อมูลต่าง ๆ ที่มีการใช้งานด้วยรหัสที่ไม่สามารถถอดออก โดยบุคคลที่ 3 ได้ ตัวอย่างเช่น เครื่องโทรศัพท์ เคลื่อนที่ที่สนับสนุนเทคโนโลยี WAP (Wireless Application Protocol) เป็นต้น
4. ความสะดวกในการใช้งานเนื่องจากการออกแบบโทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นใหม่ ๆ ให้มีความสวยงาม และใช้งานง่ายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของหน้าจอ การแสดงผล และการป้อนข้อมูลรวมทั้งการเพิ่มหน่วยความจาภายในตัวเครื่องให้มากขึ้น ทาให้สามารถใช้บันทึกข้อมูลต่าง ๆ เช่นสมุดโทรศัพท์ รายการนัดหมาย หรือรหัสลับส่วนตัวต่าง ๆ ได้มากขึ้น
ลักษณะของ M-Commerce
เนื่องจากจานวนผู้ใช้อุปกรณ์สื่อสารไร้สายที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (Internet access) มีแนวโน้มที่จะลดลงอย่างต่อเนื่อง ทาให้เกิดแรงขับดัน ในการทาธุรกรรมแบบไร้สายซึ่งมีลักษณะสาคัญ ดังนี้
1. ความสามารถเคลื่อนย้าย (Mobility) เป็น จุดดึงดูดที่น่าสนใจ เนื่องจากระบบ ไร้สายได้สนองตอบผู้บริโภคด้านสารสนเทศจากแหล่งต่าง ๆ ที่เครือข่าย อินเทอร์เน็ตสามารถเข้าถึง ทาให้ลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้าได้ทุกหนทุกแห่ง โดยใช้โทรศัพท์มือถือที่พกพาไปกับผู้ใช้งาน
2. ความสามารถเข้าถึง (Reach ability) หมายถึง บุคคลสามารถติดต่อ ณ เวลาใดๆ (At any time) ที่ท่านสามารถกาหนดได้
ปัจจัยสาคัญที่ผลักดันให้ M-Commerce ประสบความสาเร็จนอกจากลักษณะ และจุดเด่นของ M-Commerce ที่เป็นพื้นฐานสาคัญในการผลักดันให้การ ดาเนินธุรกรรมเชิงพาณิชย์ในรูปแบบของ M-Commerce เกิด ขึ้นได้แล้ว ความก้าวหน้าอย่าง รวดเร็วของเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ช่วยให้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในอนาคตอันใกล้มีขีดความสามารถเพิ่มเติมมากขึ้น จึงถือว่าเป็นปัจจัยสาคัญที่ช่วยให้ M-Commerce ก้าวผ่านอุปสรรคที่ ขัดขวางการเติบโตของกิจกรรม E-Commerce ซึ่งสามารถสรุปได้เป็น 3 ประการดังนี้
1. การใช้ประโยชน์จากข้อมูลตาแหน่งท้องถิ่น เทคโนโลยี Location Based Service ซึ่งเป็นความก้าวหน้าอีกขั้นหนึ่งของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ จะทาให้เครือข่ายทราบได้ว่าผู้ใช้บริการแต่ละรายอยู่ ณ ที่แห่งใดได้ตลอดเวลา ทาให้สามารถสร้างบริการ M-Commerce ที่สัมพันธ์กับตาแหน่งที่อยู่ของ ผู้ใช้บริการได้อย่างอัตโนมัติ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่อาจเกิดขึ้นได้กับการใช้ เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทาธุรกรรมแบบ E-Commerce
2. สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่าย เพื่อติดต่อสื่อสารได้ในทันที ด้วยความพร้อมของเทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลแบบใหม่ ๆ ในปัจจุบัน เช่น GPRS (Generic Packet Radio Service) ในเครือข่าย GSM ร่วมกับเทคโนโลยี WAP ทาให้ผู้ใช้บริการ สามารถติดต่อกับแหล่งให้บริการ M-Commerce หรือบริการอินเตอร์เน็ตต่าง ๆ ได้ทันทีที่ต้องการ โดยไม่ต้องเสียเวลารอการเชื่อมต่อวงจรให้เรียบร้อยก่อนที่จะทาการสื่อสารได้ เหมือนดังในกรณีของการพึ่งพาเทคโนโลยี WAP บนเครือข่าย GSM หรือการใช้คอมพิวเตอร์ทาธุรกรรมแบบ E-Commerce ซึ่ง ความสามารถแบบใหม่ ของโทรศัพท์เคลื่อนที่นี้เอง ที่น่าจะตรงกับพฤติกรรมการใช้งานของมนุษย์ที่สุด และน่าจะเป็นหนึ่งในปัจจัยสาคัญที่ผลักดันให้เกิดการเจริญเติบโตของกิจกรรม M-Commerce
3. การจัดการฐานข้อมูลส่วนบุคคล แม้ในปัจจุบันเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่บางรุ่นจะมีความสามารถในการบันทึก ข้อมูลบางอย่างของผู้ใช้บริการบ้างแล้ว แต่โทรศัพท์ เคลื่อนที่รุ่นใหม่ ๆ ที่มีหน่วยความจามาก และมีการใช้เทคโนโลยีการพัฒนาโปรแกรมพิเศษ เช่น การใช้โปรแกรมแบบ Java2ME น่าจะเป็นจุดหักเหที่สาคัญ สาหรับการเติบโตของกิจกรรม M-Commerce ตัวอย่างของข้อมูลที่เก็บไว้ในฐาน ข้อมูลส่วนบุคคลก็อาจจะเป็นความชอบส่วนตัว,เลขที่บัตรประจาตัวที่สาคัญต่างๆ กีฬาที่ชอบ ฯลฯ ซึ่งหากผู้ใช้บริการอนุญาตให้มีการเปิดเผยกับแหล่งให้บริการข้อมูล M-Commerce ก็จะทาให้เกิดบริการรูปแบบใหม่ ๆ ที่น่าสนใจขึ้นอีกมากมาย
ขั้นตอนการเปิดร้านค้าออนไลน์
ก่อนที่จะเปิดร้านค้าออนไลน์ ควรเรียนรู้ขั้นตอนการเปิดร้านค้าออนไลน์ทั้งหมดก่อน โดยเริ่มจาก
1. ศึกษาสินค้าที่สนใจจะขาย - ควรมีสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่สนใจและต้องการจะขายเสียก่อน และควรเข้าใจจุดแข็ง จุดอ่อน ของสินค้า รวมถึงจุดขายที่แตกต่างจากคู่แข่งในตลาดให้ดีก่อนที่จะนาสินค้าเข้าสู่ตลาด และควรตอบคาถามให้ได้ว่า ทาไมผู้ใช้ถึงเลือกซื้อ และเลือกใช้สินค้า หรือบริการของเรา ซึ่งหาก สามารถตอบโจทย์เหล่านี้ได้ จะช่วยให้สามารถประกอบธุรกิจได้ประสบความสาเร็จได้มากขึ้นนั่นเอง
2. ศึกษาทาความเข้าใจกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ - การทาร้านค้าออนไลน์ หรือที่เรียกอย่างเป็นทางการว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์นั้น คือการทาการค้าขายและธุรกรรมซื้อขายผ่านทางระบบออนไลน์ หรือทางอินเตอร์เน็ตนั่นเอง ซึ่งช่วยให้สามารถขายสินค้าได้ทุกที่ ที่อินเตอร์เน็ตสามารถเข้าถึง โดยไม่ต้องเช่าพื้นที่หน้าร้านในแหล่งชุมชนซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง และช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มาก อีกทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ซื้อจากทั่วโลกได้มีโอกาสพบเห็นสินค้า สาหรับผู้ซื้อช่วยให้สะดวกสบายไม่ต้องเดินทางฝ่ารถติดไปซื้อสินค้าจากหน้าร้านค้าโดยตรง เพียงเลือกสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตอยู่ที่บ้าน ชาระเงินผ่านระบบที่น่าเชื่อถือ และรอสินค้ามาส่งถึงที่บ้าน
3. เลือกระบบร้านค้าออนไลน์ – เราสามารถเลือกเปิดร้านค้าออนไลน์ได้หลากหลายรูปแบบ โดยทั่วไปที่นิยมมี 2 รูปแบบ คือ ใช้บริการร้านค้าสาเร็จรูป ซึ่งสามารถหาเว็บไซต์ที่ให้บริการเปิดร้านค้าเหล่านี้ได้มามากเล่น weloveshopping, tarad.com, lnwshop, shopspot เป็นต้น หรือสามารถเลือกใช้โปรแกรมสาเร็จรูป เพื่อติดตั้งปรับแต่งได้ด้วยตัวเอง มีอิสระในการปรับแต่งมากกว่า แต่อาจจะยุ่งยากกว่าในการเริ่มต้น เช่น PrestaShop, Mageto เป็นต้น
4. จัดแต่งหน้าร้านค้าออนไลน์ รูปแบบ สีสัน ป้ายร้าน - เมื่อเราเลือกบริการร้านค้าได้แล้ว ก็เริ่มตกแต่งร้านค้าให้เหมาะสมและดึงดูด หลีกเลี่ยงการตกแต่งร้านค้าให้กระพริบ และมีลูกเล่นมากเกินความจาเป็น ยิ่งทาให้ผู้ใช้งงงวย และใช้งานได้ยาก ควรเน้นที่สินค้าให้ดูค้นหาง่าย และสะอาดตา น่าเชื่อถือ และค้นหาสินค้า และสั่งซื้อได้ง่าย
5. จัดหมวดหมู่สินค้า ลงรูปสินค้า อัพเดทข้อมูล และราคาสินค้าลงเว็บไซต์ - จากนั้นจัดหมวดหมู่สินค้าให้เหมาะสม ลงรายละเอียดสินค้าให้เรียบร้อย นารูปสินค้าที่ชัดเจนสวยงาม เพื่อช่วยดึงดูดลูกค้าได้มากขึ้น
6. ทาการตลาดโปรโมทร้านออนไลน์ - การเปิดร้านค้าออนไลน์ในโลกอินเตอร์เน็ตที่กว้างใหญ่ อาจทาให้ผู้ซื้อไม่สามารถเข้าถึงเว็บไซต์ของเราได้ง่าย เราควรทาการโปรโมทเว็บไซต์เพื่อให้เป็นที่รู้จัก และค้นหาได้ง่ายผ่านทาง Google ซึ่งเรียกว่า Search Engine Optimization หรือเรียกสั้นๆ ว่า SEO
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์น่าสนใจอย่างไร
การขายโดยปกติทั่วไป คุณจะต้องมีแผงหรือหน้าร้านสาหรับขายสินค้า อาจต้องเช่าพื้นที่ในห้าง หรือต้องหาพื้นที่เช่าอื่นๆ ในราคาแสนแพง นอกจากนั้นยังต้องซื้อสินค้ามาจัดวางกันให้เหนื่อยอีกต่างหาก แต่การขายของออนไลน์นั้นไม่ได้ยุ่งยากเพียงแค่คุณลงรายการสินค้า ลงรูป รายละเอียด และราคาของ สินค้าในเว็บไซต์คุณก็สามารถขายของได้แล้ว ในกรณีใช้บริการเปิดร้านค้าออนไลน์คุณยังสามารถตั้งชื่อ ร้าน ตกแต่งป้ายร้านและหน้าตาของร้านได้ตามต้องการ
1. ใช้ต้นทุนน้อยกว่าการเปิดร้านจริง
การขายของออนไลน์นั้นมีต้นทุนที่ตากว่าการเปิดร้านจริงๆ อยู่มาก เนื่องจากเราไม่ต้อง เสียค่าเช่าร้านค่าน้า ค่าไฟ ค่าจ้างพนักงาน แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่เสียค่าใช้จ่าย อะไรเลย เช่น ถ้าคุณอยากมีเว็บไซต์ เป็นของตัวเอง หรือ
ไปสมัครใช้บริการตามเว็บไซต์ที่ให้บริการเปิดร้าน ออนไลน์หรือฝากขายสินค้า ก็ต้องมีค่าเช่าพื้นที่ ค่าธรรมเนียมรายเดือน-รายปีหรืออาจจะแบ่ง เปอร์เซ็นต์จากการขาย เป็นต้น แต่เมื่อเทียบกับการเปิดร้านแล้ว การซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตจะเสียค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่า และเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากกว่าอีกด้วย
2. กลุ่มลูกค้ามีจานวนมาก
อัตราการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นทุกปี ทาให้โอกาสในการขายของออนไลน์นั้น เพิ่มขึ้นตามไปด้วย จากสถิติผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในปี 2012 พบว่า ในประเทศไทยมีจานวนผู้เข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตในแต่ละวันมากกว่า 6 ล้านคน แต่ละคนจะเข้าเยี่ยมชมหน้าเว็บอย่างน้อย 50 หน้าในแต่ละวัน ช่วงเวลาที่คนเข้าชมเว็บไซต์มากที่สุดคือช่วง 4-5 โมงเย็น และแต่ละคนยังใช้ Search Engine ในการค้นหาข้อมูลหรือสินค้าประมาณ 8 ครั้งต่อวันอีกด้วย (Search: Engine ที่ใช้กันส่วนใหญ่ก็คือ www.google.com)
3. เปิดร้านค้าได้ทุกวันทุกเวลา
การเปิดร้านค้าทั่วไปจะต้องมีเวลาเปิด-ปิด เช่น เปิดร้านเวลา 10 โมงเช้า ปิดร้านเวลา 1 ทุ่ม เปิดทุกวันจันทร์-วันเสาร์หยุดวันอาทิตย์เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องมีคนคอยเฝ้าร้าน ซึ่งก็ต้องแบ่งเวลาไปทาธุระจาเป็นอื่นๆ แต่สาหรับการขายของหรือเปิดร้านค้าออนไลน์แล้ว คุณสามารถเปิดได้ทุกวันไม่จากัดเวลา ทาให้ลูกค้าสามารถเข้ามาชมสินค้าภายในร้านค้าหรือกระทู้ขาย ของได้ตลอดเวลาหรือถ้าลูกค้าจะสั่งสินค้า ในเวลานั้น ก็ยังมีช่องทางการติดต่ออย่างเช่น อีเมล เว็บบอร์ด ข้อความส่วนตัว) ซึ่งคุณสามารถตรวจสอบ ข้อมูลลูกค้าในภายหลังได้อีกด้วย
4. เพิ่มช่องทางในการขายสินค้า
สาหรับท่านที่มีหน้าร้านค้าจริงอยู่แล้ว สามารถเปิดร้านค้าออนไลน์เพื่อเพิ่มช่องทางการขายสินค้า ของคุณได้อีกทางหนึ่ง เนื่องจากการเปิดร้านค้าออนไลน์ใช้ทุนไม่มาก สามารถลงรูปพร้อม รายละเอียด ของสินค้าโปรโมชั่นใหม่ๆ ที่อยู่ของร้าน แผนที่ของร้าน ฯลฯ นอกจากนี้ยังช่วยโฆษณาและสร้างความ น่าเชื่อถือให้กับร้านของคุณไปในตัวอีกด้วย
5. ใช้เวลาไม่มาก ทาเป็นอาชีพเสริมได้
ถึงแม้ว่าคุณจะมีงานประจาทาอยู่แล้ว คุณก็สามารถขายของหรือเปิดร้านค้าออนไลน์เป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่งได้เพราะใช้เวลาในการดูแลร้านไม่มากนัก คุณสามารถใช้เวลาในช่วงเช้าหรือพักเที่ยง เพื่อเข้ามาตรวจสอบดูกระทู้ในเว็บบอร์ดหรืออ่านอีเมล ว่ามีลูกค้าเข้ามาสอบถามหรือสั่งซื้อสินค้าของคุณ หรือไม่และเวลาคุณจะส่งสินค้าให้ลูกค้าทางไปรษณีย์ก็สามารถไปส่งที่ไปรษณีย์ในวันเสาร์ก่อนเที่ยงได้เพราะไปรษณีย์ไทยเปิดทาการในวันเสาร์ครึ่งวันด้วย จะได้ไม่รบกวนเวลาทางานจนเสียงาน หรือหาก ที่ทางานคุณอยู่ใกล้ไปรษณีย์ก็ถือว่าโชคดีมากๆ เพราะสามารถส่งสินค้าได้ทุกวัน (หากจาเป็นต้องส่ง สินค้าในวันเสาร์เท่านั้นก็ให้คุณแจ้งไว้ในกระทู้หรือประกาศของร้านค้าออนไลน์ให้ลูกค้าทราบแต่เนิ่นๆ จะได้ไม่มีปัญหาในภายหลัง)
ประเทศไทยกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
สาหรับประเทศไทยแล้ว พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นทั้งโอกาสและการตั้งรับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลและการพัฒนาขีดความสามารถของเอกชนในเวทีการค้าโลก พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นโอกาสในการปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์การ ของธุรกิจ และของภาครัฐ ในส่วนที่ให้บริการแก่ภาคเอกชนประสิทธิภาพดังกล่าวรวมถึงความรวดเร็ว ความสะดวก ความถูกต้องแม่นยา การลดต้นทุน และการขยายโอกาสทางการตลาด ในสภาพการผลิตและการให้บริการที่มีคุณภาพเป็นพื้นฐาน หากการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ภายในประเทศมีการพัฒนา ย่อมทาให้ธุรกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการขายปลีก การขายส่ง วงจรการผลิตและการจัดจาหน่าย (Supply Chain) รวมถึงการจัดการในภาคการผลิตและบริการรายสาขา มีความพร้อมในการแข่งขันมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเปิดโอกาสให้นักธุรกิจ นักอุตสาหกรรม นักการเงิน ผู้ให้บริการ
ก่อนปี พ.ศ. 2541 การซื้อขายสินค้าและบริการผ่านทางอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยมีมูลค่าน้อย อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 เป็นต้นมา การดาเนินธุรกรรมผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ตกลับมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากซื้อขายสินค้าและบริการผ่านทางอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยมีมูลค่า ประมาณ 22,000 ล้านบาท ปี พ.ศ. 2542 ธุรกิจที่มียอดขายมากที่สุดในประเทศได้แก่ ธุรกิจบริการ รองลงมาได้แก่ ผลิตผลทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่โลหะ ธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก เครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าอื่นๆ เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องเสียง อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หนังสือ เป็นต้น
สาหรับในตลาดต่างประเทศนั้นธุรกิจค้าส่งและค้าปลีกทารายได้ให้กับผู้ประกอบการไทยมากที่สุด รองลงมาคือ ธุรกิจบริการ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่โลหะ ผลิตภัณฑ์ยาง เคมีภัณฑ์ และอื่นๆ โดยเฉพาะสินค้าพื้นเมือง เช่น สมุนไพรพื้นบ้าน ลาโพงทาจากไม้จามจุรี ผลิตภัณฑ์จากกระดาษสา เฟอร์นิเจอร์ไม้ เป็นต้น
สาเหตุที่ทาให้การซื้อขายสินค้าและบริการผ่านทางอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยมีแนวโน้มสดใส นั้นก็เพราะว่าการดาเนินธุรกรรมผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันไม่ได้จากัดอยู่แต่เฉพาะธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางเท่านั้น แม้แต่ธุรกิจขนาดใหญ่เองก็ยังให้ความสนใจที่จะดาเนินการซื้อขายสินค้าและบริการโดยผ่านช่องทางการจัดจาหน่ายนี้มากขึ้น โดยเฉพาะในตลาดยุโรปและสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วนั่นเอง จากการสารวจพบว่าธุรกิจที่มีการใช้อีคอมเมิร์ซมากที่สุดคือคอมพิวเตอร์ รองลงมาได้แก่การบริการ การท่องเที่ยวและการโรงแรม อาหารสุขภาพและโรงพยาบาล ก่อสร้างตกแต่งและออกแบบ บันเทิงการค้าส่งและค้าปลีก และเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สาเหตุสาคัญประการต่อมาก็คือการดาเนินธุรกรรมผ่านทางอีคอมเมิร์ซยังเป็นช่องทางการจัดจาหน่ายที่สะดวกและรวดเร็ว อีกทั้งยังมีต้นทุนในการดาเนินการที่ค่อนข้างต่าอีกด้วยเมื่อเปรียบเทียบกับการค้าขายแบบปกติ
Reference
หนังสือความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับปรับปรุง 2015
http://www.dbdmart.com/learning/default/lesson/id/15
http://www.rachinuthit.ac.th/wanida/pages/k6.html
http://elearning.northcm.ac.th/mis/lesson.asp?LessonID=13

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น